การทำ Positioning control สามารถทำได้โดยการใช้ซีเควนซ์โปรแกรมจาก PLC เข้ามาช่วยในการระบุตำแหน่งการเคลื่อนที่ของเซอร์โว ช่วยให้การกำหนดตำแหน่งที่มีความเร็วและความแม่นยำสูงทำได้อย่างง่ายดาย สามารถควบคุมการเคลื่อนที่หลายแกน ให้สัมพันธ์กันแบบเส้นตรง (Linear interpolation), แบบเป็นส่วนโค้งของวงกลม (Circular interpolation), การเปลี่ยนแปลงความเร็ว/ตำแหน่ง, การติดตามวัตถุเคลื่อนที่และการควบคุมความเร็วที่สม่ำเสมอ หากต้องการคุมการเคลื่อนที่ของเซอร์โวที่ซับซ้อนนอกเหนือจากการการควบคุมการกำหนดตำแหน่งด้วยตัวเลข, การควบคุมความเร็ว, การควบคุมแรงบิด เช่น การควบคุมลูกเบี้ยว และการควบคุมซิงโครนัส นั้นจะต้องใช้ Simple Motion Module เข้าช่วย ทั้งนี้ในการใช้ PLC ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของเซอร์โวนั้น สามารถทำได้ทั้งแบบ Modular PLC และ Compact PLC ในที่นี้เราจะมาแนะนำ PLC กลุ่ม iQ-F Series ที่ใช้สำหรับทำ Positioning Control
เราสามารถจำแนกลักษณะของโมดูลควบคุม Positioning Control สำหรับ PLC iQ-F Series ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังรูป
CPU module (built-in positioning), I/O module
สำหรับ PLC รุ่น FX5U และ FX5UC จะรองรับการใช้งาน Positioning Function หรือการควบคุมตำแหน่งการเคลื่อนที่ของเซอร์โว รวมถึงการใช้งาน Motion Control หรือการควบคุมการเคลื่อนที่ของแกนเซอร์โวได้ โดย PLC รุ่น FX5U และ FX5UC รองรับการใช้งาน Positioning Control ได้ 4 แกนในตัว หากต้องการควบคุมเซอร์โวที่มากกว่า 4 แกน สามารถเสริมโมดูลอินพุตและเอาท์พุต FX5-16ET/ES-H หรือโมดูล FX5-16ET/ESS-H เพิ่มได้สูงสุด 4 โมดูล ซึ่ง PLC 1 ชุด จะสามารถควบคุมเซอร์โวรวมกันได้สูงสุด 12 แกน โดยการใช้ซีเควนซ์โปรแกรมจาก PLC
Simple motion module
ในการความคุมการเคลื่อนที่ของแกนหลายแกนและทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องใช้โมดูลทีสามารถทำ Simple Motion Module เข้ามาช่วย สำหรับโมดูลที่ใช้คือ FX5-40SSC-S สามารถควบคุมได้ 4 แกน, FX5-80SSC-S สามารถควบคุมได้ 8 แกน ตัวอย่างฟังก์ชั่น เช่น
- Positioning Control
สามารถใช้โมดูล Simple Motion โดมูลควบคุมการทำงานในรูปแบบ Linear interpolation, Circular interpolation, Continuous path control, S-curve acceleration/deceleration ได้อย่างรวดเร็วด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลแบบ SSCNETIII/H
- Synchronous control
การควบคุมแบบซิงโครนัสด้วยการแทนที่กลไกทางเครื่องกล เช่น เกียร์, เพลา, เกียร์ทด และ ฟังก์ชั่นการควบคุมลูกเบี้ยว รวมถึงการสร้างลูกเบี้ยวอัตโนมัติสามารถทำได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้สามารถผสมผสานแกนควบคุมซิงโครนัสได้และแกนควบคุมตำแหน่งได้อย่างลงตัว
- Mark detection function
ป้องกันการเบี่ยงเบนของแกนเครื่องตัดด้วยการชดเชยโดยการตรวจจับเครื่องหมายบนชิ้นงานเพื่อให้ชิ้นงานสามารถตัดได้ที่ตำแหน่งคงที่
- Cam data auto-generation
ข้อมูลการทำงานของลูกเบี้ยวของเครื่องตัดแบบโรตารี่ จะถูกสร้างขึ้นอัตโนมัติ เพียงระบุค่าความยาวของแผ่น, ความกว้างของการซิงโครไนซ์, ความละเอียดของแคม ฯลฯ ทำให้คุณสามรถสร้างการควบคุมการทำงานของลูกเบี้ยวและตัวตามได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ PLC iQ-F Seriesในการควบคุมอุปกรณ์ขับเคลื่อนได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเซอร์โวมอเตอร์แบบต่างๆ, หรือแม้กระทั่งการควบคุมมอเตอร์ผ่าน Inverter ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ข้อมูลจาก : https://www.mitsubishifa.co.th