PLC คืออะไร และเปรียบเทียบการใช้งานควบคุมแบบ Relay

auto-blog-plcmit

PLC คืออะไร

       PLC มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Programmable Controller หรือการควบคุมซีเควนซ์  Sequence Control (SC) ซึ่งมีคำนิยามเกี่ยวกับอุปกรณ์นี้ว่า “คือสิ่งที่เอาไว้ควบคุมอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ โดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า Input-Output ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคที่ภายในประกอบไปด้วยหน่วยความจำเพื่อจดจำคำสั่งที่สามารถสั่งงานได้ด้วยโปรแกรม (Programmable)”

ความเป็นมาของ PLC

     เริ่มจากการที่บริษัท GM (General Motors) ในอเมริกามีความประสงค์ที่จะพัฒนาค้นคว้าเกี่ยวกับพีแอลซี จึงทำให้ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1968 และในปี 1969 อเมริกาได้เริ่มวางจำหน่ายในตลาด สำหรับในประเทศญี่ปุ่นได้ให้กำเนิดรุ่นแรกในประเทศขึ้นในปี 1970 แต่ สำหรับรุ่นทั่วไปนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากปี 1976 บริษัท Mitsubishi Electric เป็นผู้เปิดตลาดโดยการวางจำหน่ายรุ่นทั่วไปตั้งแต่ปี 1977 โดยผลิตรุ่นที่เป็นแบบ One-board จนติดตลาดและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป หลังจากนั้นในปี 1980 ได้มีการวางจำหน่ายรุ่น K-Series ที่มี การติดตั้งฟังก์ชันการคำนวณและจัดการเรื่องตัวเลข (Numeric value processing functions) และในปี 1981 ถือเป็นจุดเริ่มในการวางจำหน่าย Micro PLC F-Series ที่มีการติดตั้งโปรแกรม (Built-in programmer) และเข้าสู่ยุคที่เริ่มใช้พีแอลซีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งานพีแอลซีและระบบรีเลย์ในการควบคุม

หัวข้อ

วิธีการ

การควบคุมรีเลย์ (Relay control)

การควบคุมพีแอลซี (PLC control)

1

ความสามารถ (Function)

ถ้าใช้ Relay หลายตัวก็สามารถควบคุมแบบการทำงาน ที่ซับซ้อนได้

สามารถควบคุมการทำงานที่ซับซ้อนได้มากมาย ด้วยโปรแกรม

2

การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการควบคุม

ไม่มีวิธีอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนการเดินสายไฟ 

สามารถทำได้โดยอิสระ เพียงแค่เปลี่ยนโปรแกรม

3

ความเชื่อมั่น

ถ้ามีการใช้งานตามปกติจะไม่มีปัญหา แต่จะมีจำกัดใน เรื่องของหน้าสัมผัสไม่ดีและเรื่องของอายุการใช้งาน

ชิ้นส่วนที่สำคัญใช้วัสดุทั้งหมดเป็นกึ่งตัวนำไฟฟ้า จึงได้รับความไว้วางใจสูง

4

คุณสมบัติโดยทั่วไป

อุปกรณ์ที่ทำเสร็จนั้นไม่สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได

ขึ้นอยู่กับโปรแกรมสามารถควบคุมประเภทไหนก็ได้ 

5

การขยายเครื่องจักร (Expandability)

จำเป็นต้องมีการเพิ่มหรือมีการสร้างใหม่ซึ่งมีความยาก ลำบาก

สามารถขยายได้ตามอิสระจนเต็มขีดความสามารถ

6

ความง่ายดาย ในการดูแลรักษา

จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ และเปลี่ยนชิ้นงาน ตามอายุการใช้งาน

สามารถทำการซ่อมบำรุงได้เพียงแค่การเปลี่ยนยูนิต

7

ความหลากหลาย ด้านฟังก์ชัน

ทำได้เฉพาะการควบคุมรีเลย์ (Relay control)

นอกเหนือจาก Sequence program แล้ว ยังสามารถ ควบคุมอื่นๆ เช่น อนาล็อก (Analog) หรือ การกำหนด ตำแหน่ง (Positioning) ได้อีกด้วย

8

ขนาดเครื่องจักร

มีขนาดใหญ่ทั่วๆ ไป

ถึงแม้จะเป็นการควบคุมระดับสูงและซับซ้อน ก็ไม่ทำให้ เครื่องจักรมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

9

ระยะเวลาในการออกแบบ และการจัดทำ

ใช้เวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ Drawing จำนวนมาก การจัดหาชิ้นงานและการทดสอบประกอบ

ถึงจะเป็นการควบคุมที่ซับซ้อน ก็สามารถทำการออกแบบได้อย่างง่ายดาย ไม่สร้างขั้นตอนในการจัดทำ

    ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบการควบคุมพีแอลซี มีข้อดีมากกว่า Relay จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ง่ายในการเปลี่ยนแปลง และง่ายในการจัดการ การบำรุงรักษา

ข้อมูลจาก : https://www.mitsubishielectric.com